วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1.พระธาตุกลางน้ำ
เป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ (พระพนม) จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค ๗ พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ ๑๗.๒ เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ ๒๘.๕ เมตร หักออกเป็น ๓ ท่อน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๒ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวนมากที่สุด หนังสือประชุมพงศาวดารภาค ๗๐ บันทึกไว้ว่า “พระธาตุเมืองหนองคายได้เพ (พัง) เมื่อวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ปีพุทธศักราช ๒๓๙๐” และตลิ่งได้ถูกน้ำเซาะจนมองเห็นพระธาตุอยู่เกือบกึ่งกลางลำน้ำโขงในปัจจุบัน









2.น้ำตกเจ็ดสี
ที่อยู่บริเวณบ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์ป่าดอนเสียด เดิมชื่อน้ำตกกะอาม มี 4 ชั้น เป็นน้ำตกจาหน้าผาสูงทำให้เกิดเป็นละอองน้ำ เมื่อกระทบกับแสงแดดจึงเกิดสีต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อน้ำตก ตัวน้ำตกมีขนาดค่อนข้างใหญ่และสวยงามอีกแห่งหนึ่ง บริเวณน้ำตกมีแนวสันเขาเป็นผาหินกับลานหินที่มีทางยาว 3 – 5 กิโลเมตร จากลานหินบนสันภูวัวบริเวณน้ำตกจะมองเป็นทิวทัศน์ด้านตะวันตกได้โดยตลอดแนว การเดินทางเข้าถึงโดยรถยนต์ และเดินเท้าต่ออีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงตัวน้ำตก

3.สพามมิตรภาพไทยลาว

           สะพานนี้ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 30 ปี จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2537 ด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศไทย ลาว ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดสะพานแห่งนี้ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2537 หลังเสร็จพระราชพิธี พระองค์เสด็จฯ ไปประทับแรม ณ หอคำ พระบรมมหาราชวังของเจ้ามหาชีวิตหรือกษัตริย์ลาวในอดีตเป็นเวลา 1 คืน ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ


                                                         4.ภูทอก

   ภูทอก ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จ.หนองคาย ภูทอกมี 2 ลูกคือ ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย ส่วนที่นักแสวงบุญและนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถชมได้คือภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวไปชมได้ตามปกติ ในอดีตอาณาบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย ต่อมาพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรมของภิกษุ-สามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป




ในเวลาต่อมา ก่อนที่พระอาจารย์จวนจะละสังขาร ได้เล็งเห็นการณ์ไกลที่จะช่วยเหลือชาวบ้านแถวนี้ให้มีรายได้อย่างยั่งยืนและถาวร เป็นการตอบแทนบุญคุณญาติโยมที่มีอุปการะ จึงได้ริเริ่มจัดสร้างสะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธรักษ์ คือการท่องเที่ยวในเชิงการแสวงบุญหรือธรรมจาริก นักท่องเที่ยวจะได้ประโยชน์จากการเที่ยวชมธรรมชาติคือขุนเขาลำเนาไพรและได้ศึกษาพุทธศาสนา ส่วนชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าและธุรกิจร้านอาหาร (เงินจะสะพัด)

นี่คือการช่วยเหลือประชาชนในแนวทางของพระอริยะ ส่วนพระที่ช่วยเหลือประชาชนโดยการบอกเลขใบ้หวย เป็นการช่วยเหลือที่ไม่จีรังยั่งยืน



                                                 5.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
                                                                     
         กรมป่าไม้เริ่มทำการสำรวจเบื้องต้นป่าภูวัว เมื่อ พ.ศ. 2507 และพบว่าป่าแห่งนี้เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธารที่สำคัญ สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ และมีสัตว์ป่าชุกชุม สมควรที่จะจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่อีกคณะหนึ่งเข้าไปทำการสำรวจอย่างละเอียด และทำการรังวัดหมายขอบเขตเพื่อทำการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าต่อไปแต่เนื่องจากสถานการณ์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แทรกซึมของผู้ก่อการร้าย การดำเนินงานต่าง ๆ จึงต้องหยุดชะงักลง จนถึงปี พ.ศ. 2517 เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ ภายในพื้นที่ป่าภูวัวคลี่คลายลง กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการต่อไปจนสามารถนำเรื่องเสนอขอความเห็นจากคณะรัฐมนตรีและตราพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูวัว ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 87 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2518 มีเนื้อที่ประมาณ 186.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลหนองเดิ่น ตำบลบุ่งคล้า ตำบลโคกกว้าง อำเภอบุ่งคล้า ตำบลบ้านต้อง ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา ตำบลชัยพร อำเภอบึงกาฬ และตำบลท่าดอกคำ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย และในปี พ.ศ. 2533 ได้มีการรังวัดฝังหลักเขตรอบพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับหน่วยพิทักษ์ป่าถ้ำฝุ่น ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงภูวัว ยังมีความอุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ จึงได้ผนวกพื้นที่บริเวณนี้เข้าเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เนื้อที่ประมาณ 8,100 ไร่ รวมมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 124,662 ไร่

                                                         6.น้ำตกถ้ำพระภูวัว

                                                            ตั้งอยู่บริเวณบ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์ป่าถ้ำพระ ชื่อน้ำตกเรียกตามชื่อของถ้ำที่มีลักษณะเป็นชะง่อนหินบริเวณหน้าผามีรูปปั้นพระพุทธรูปซึ่งสร้างโดยพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อยู่ฝั่งตรงข้ามน้ำตกซึ่งคนท้องถิ่นเรียกว่า “ ถ้ำพระ ” น้ำตกถ้ำพระนี้เกิดจากลำห้วยบังบาตร มีความสูงประมาณ 3 ชั้น บริเวณน้ำตกมีลานหินทรายสีแดงที่โล่งกว้าง มีสภาพธรรมชาติงดงาม สามารถพบเห็นความงามของไม้ดอกนานาพันธุ์ หลากหลายสีสันในช่วงฤดูฝน

                                                     7.วัดอารามหลวงโพธิ์ชัยวราราม

 เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ใตเขตเทศบาลเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวเมืองหนองคาย หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตามตำนานเล่าว่า พระธิดา 3 อง ค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลางและพระใสประจำน้องคนสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่เวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งมา ยังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไป ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ทุกปีในวันเพ็ญกลางเดือ น 7 ชาวเมืองหนองคายจะมีงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำ



                                                            

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดโพธิ์ชัยวราราม


เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ชาวเมืองหนองคายนับถือกันมาก หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตำนานเล่าว่า พระธิดา ๓ องค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง และพระใสประจำน้องสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่กรุงเวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งมายังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไป ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ทุกปีในวันเพ็ญกลางเดือน ๗ ชาวเมืองหนองคายจะมีงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำ




ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อเมื่อปี ร.ศ. ๑๐๕ (พ.ศ. ๒๔๒๙) เสด็จในกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมซึ่งเป็นแม่ทัพปราบกบฏฮ่อในครั้งนั้นรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนความดีของผู้ที่ได้เสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้านเมือง ที่อนุสาวรีย์ทั้ง ๔ ทิศ มีคำจารึกภาษาไทย จีน ลาว และอังกฤษ มีการจัดงานบวงสรวงและฉลองอนุสาวรีย์ในวันที่ ๕ มีนาคม ของทุกปี










เป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ (พระพนม) จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค ๗ พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ ๑๗.๒ เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ ๒๘.๕ เมตร หักออกเป็น ๓ ท่อน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๒ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวนมากที่สุด หนังสือประชุมพงศาวดารภาค ๗๐ บันทึกไว้ว่า “พระธาตุเมืองหนองคายได้เพ (พัง) เมื่อวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ปีพุทธศักราช ๒๓๙๐” และตลิ่งได้ถูกน้ำเซาะจนมองเห็นพระธาตุอยู่เกือบกึ่งกลางลำน้ำโขงในปัจจุบัน