วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดโพธิ์ชัยวราราม


เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ชาวเมืองหนองคายนับถือกันมาก หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตำนานเล่าว่า พระธิดา ๓ องค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง และพระใสประจำน้องสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่กรุงเวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งมายังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไป ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ทุกปีในวันเพ็ญกลางเดือน ๗ ชาวเมืองหนองคายจะมีงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำ




ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อเมื่อปี ร.ศ. ๑๐๕ (พ.ศ. ๒๔๒๙) เสด็จในกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมซึ่งเป็นแม่ทัพปราบกบฏฮ่อในครั้งนั้นรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนความดีของผู้ที่ได้เสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้านเมือง ที่อนุสาวรีย์ทั้ง ๔ ทิศ มีคำจารึกภาษาไทย จีน ลาว และอังกฤษ มีการจัดงานบวงสรวงและฉลองอนุสาวรีย์ในวันที่ ๕ มีนาคม ของทุกปี










เป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ (พระพนม) จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค ๗ พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ ๑๗.๒ เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ ๒๘.๕ เมตร หักออกเป็น ๓ ท่อน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๒ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวนมากที่สุด หนังสือประชุมพงศาวดารภาค ๗๐ บันทึกไว้ว่า “พระธาตุเมืองหนองคายได้เพ (พัง) เมื่อวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ปีพุทธศักราช ๒๓๙๐” และตลิ่งได้ถูกน้ำเซาะจนมองเห็นพระธาตุอยู่เกือบกึ่งกลางลำน้ำโขงในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น